เคล็ด (ไม่) ลับวิธีการดูแลผิวหนังโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างถูกต้อง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ เทอดพงศ์ เต็มภาคย์

Last updated: 26 มิ.ย. 2561  |  10816 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เคล็ด (ไม่) ลับวิธีการดูแลผิวหนังโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างถูกต้อง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ เทอดพงศ์ เต็มภาคย์

 

เคล็ด (ไม่) ลับวิธีการดูแลผิวหนังโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างถูกต้อง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ เทอดพงศ์ เต็มภาคย์

> ตารางตรวจ: ทุกวันจันทร์ และ พุธ ที่ เดอเมช คลินิก
> เพื่อความสะดวกของคุณแม่สามารถสอบถามข้อมูล/จองคิวนัดตรวจได้ที่เบอร์และ line พิเศษเพื่อการนัดตรวจกับอาจารย์เทอดพงศ์ได้ที่ 0836699449
Line: DeMedclinic1 (11.30-20.30 น.)

 

ขอบคุณภาพประกอบตัวอย่างอาการภูมิแพ้ในเด็กจาก Google

 เรียบเรียงข้อมูลจากคุณหมอ Sutat Srisawat ที่เสียสละเวลาเขียนโพสต์อธิบายวิธีการดูแลผิวหนังที่ถูกต้องโดยอ้างอิงจากสิ่งที่คุณหมอเทอดพงศ์อธิบายครับ

คุณหมอ Sutat >>> หลังจากโพสต์เมื่อวาน มีคุณแม่หลายๆท่านสอบถามเรื่องวิธีการดูแลผิวลูกว่าทำอย่างไร ซึ่งผมขอออกตัวก่อนว่า ขณะนี้ทำงานในฐานะ อายุรแพทย์โรคเลือด ไม่ได้เป็นหมอเด็ก หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเด็กแต่อย่างใด แต่ได้มีโอกาสไปพบอ.เทอดพงศ์ เต็มภาคศ์ ซึ่งผมเห็นว่าวิธีการดูแลผิวเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้อย่างถูกต้องนั้นมีประโยชน์มาก ไม่ว่าเด็กจะ "แพ้อาหารด้วยหรือไม่" ก็ตาม

คุณแม่หลายคนอยู่ต่างจังหวัดหรือบางคนอยู่ต่างประเทศ คงไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงเหมือนลูกผม ดังนั้นขออนุญาต อ.เทอดพงศ์ นำสิ่งที่ อ.สอนผมและภรรยา
“เฉพาะวิธีการดูแลผิว” มาบอกเล่าตรงนี้ เพื่อให้คุณแม่ทั้งหลายลองไปปรับใช้กับลูกดูครับ (ขาดตกตรงไหน ผิดถูกประการใด ร่วมกันแก้ไขได้ครับ)

> อนึ่งผื่นภูมิแพ้ในเด็กนั้นมีความหลายหลาย ร่วมกับเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างด้านพันธุกรรม อยู่สภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน ดังนั้น นอกจากการดูแลผิวที่ถูกต้องแล้ว ต้องอาศัยการประเมินโดยแพทย์ เพื่อใช้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ (ต้องใช้ขนาดให้เหมาะกับตำแหน่งของร่างกาย สภาพผิว ระยะเวลาที่ใช้ เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง) หรือโลชั่น ตามความเหมาะสมในแต่ละคนร่วมด้วย

> เริ่มแรกครับ อ. บอกผมและภรรยาก่อนว่า... อยากให้เปิดใจกว้างๆ ล้มล้างความคิดเก่าๆออกไปก่อน ลองฟังสิ่งที่จะพูดให้ฟัง แล้วให้ลองไปปฏิบัติกับลูกด้วยตนเอง ทดสอบเองว่าดีหรือไม่ดี เริ่มที่ #การอาบน้ำ ครับ...

1. ห้ามอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ให้อาบน้ำปกติ อุณหภูมิห้อง อาบให้เร็วที่สุด ห้ามให้ลูกเล่นน้ำ เล่นเป็ดยาง รวมถึงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ หรือสระยาง (คลอรีนจะทำให้ผิวลูกเยิน)

2. ใช้สบู่หรือแชมพูเท่าที่จำเป็น สัปดาห์ละไม่เกิน 3-4 วัน อาบน้ำเปล่าเป็นหลัก ให้เหตุผลว่าเด็กวัยนี้ อยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้ไปคลุกฝุ่นที่ไหน

3. ห้ามใช้ฟองน้ำถูตัวลูก เอามือลูบเท่านั้น

4. ภายใน 3 นาทีหลังอาบน้ำ รีบเช็ดตัวให้แห้ง ช่วง 3 นาทีนี้คือ “golden period” (เป็นเวลาที่ยาจะดูดซึมเข้าผิวดีที่สุด) ทายา steroid ตรงที่มีผื่น แล้วลง โลชั่นทับทันที ทุกซอกทุกมุม ตรงที่ไม่มีผื่นลงแต่โลชั่น

...ว่าด้วยเรื่อง #โลชั่น
โลชั่นที่ควรใช้กับผิวหนังเด็กภูมิแพ้นั้น ควรมีสาร ceramide (ดูส่วนผสมหลังขวด) ที่จะช่วยเติมลงในผิว ให้ความชุ่มชื้นและปกป้องผิวเด็กที่บอบบาง ไม่ควรมีสารให้ความหอม ดังนั้นโลชั่น แบบนี้ จะเหนียวๆ มีกลิ่นหน่อยๆครับ ซึ่งโลชั่นเหล่านี้ไม่ได้ขายตามตู้หรือ ร้านขายยาทั่วๆไป และ มัก exclusive in hospital มีเฉพาะในโรงพยาบาลหรือคลีนิคเฉพาะทาง

อ.เล่าว่ามีทั้งหมด 7 ยี่ห้อที่มีคุณสมบัติแบบนี้ ลูกผมเคยใช้ 12% Eucerin omega ฝาขาว (เป็นหนึ่งในนี้) ครับ แต่ไม่ดีขึ้น ตอนนี้ใช้ของ Cetaphil อยู่ ซึ่งทั้ง 7 ยี่ห้อนี้ (อีก 4 ยี่ห้อคือ lipikar baume ของ la roche posey , Aveeno , CeraVe , Ato AI , Physiogel AI) #ไม่มียี่ห้อไหนดีกว่ากัน ขึ้นอยู่ว่า ถูกกับเด็กคนนั้นหรือเปล่า ใช้แล้วดีหรือไม่ อ. แนะนำว่าถ้าใช้สัก 2 อาทิตย์แล้วไม่ดี เปลี่ยนตัวเลย

โลชั่นประเภทนี้ ทาได้เท่าที่ต้องการครับ เพราะไม่มีผลข้างเคียงอะไร ทาได้ยันโต จุดประสงค์คือ ทำยังไงก็ได้ไม่ให้ “ผิวแห้ง” อ. เน้นว่า อย่า “ขี้งก” คุณแม่บางคนทานิดทาหน่อย เน้นว่าให้ทาเยอะๆ บ่อยๆ

>เรื่อง #น้ำลาย น้ำลายนี่ทำให้เกิดผื่นแดงรอบปากได้ วิธีก็คือ เอาผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดรอบแรก แล้วตามด้วยผ้าแห้ง แล้วลงโลชั่น ปิดท้ายครับ นี่รวมถึงเช็ดเวลากินข้าวด้วย เด็กมักกินเลอะรอบปาก ตกบนหน้าอก ตามเช็ดให้หมดครับ

>เรื่อง #น้ำยาซักผ้า ลูก ห้ามใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มด้วยเด็ดขาด เปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยอย่าปล่อยให้หมักหมมมาก ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ลงโลชั่นหรือ Bepanthen ทันทีเสมอ

> #การติดเชื้อ ก็กระตุ้นผื่นให้แย่ลงได้ครับ เชื้อก่อโรคมักเป็นเชื้อบนผิวหนังนี่แหละ สำคัญมากครับ ในกรณีเด็กบางคนมีการติดเชื้อซ้อนทับบนผื่นภูมิแพ้ด้วย แบบลูกผมเป็นแบบตุ่มหนองแล้วแตก พื้นแดงๆแบบนี้ห้ามทาสเตียรอยด์นะครับ ต้องทายาฆ่าเชื้อก่อน เช่น fucidin cream เป็นต้น

เท่าที่ผมพอนึกออกก็เท่านี้ล่ะครับ คุณแม่ท่านใดเคยพบอ. มาแล้ว มาเพิ่มเติมได้นะครับ

ตอนก่อนพบ อ. ผื่นลูกผมเป็นแบบตามรูปนี้ครับ อ. บอกว่าเป็นระดับปานกลาง moderate (ภรรยางดอาหารเข้มก่อนมาพบอ.ได้ เกือบ 2 เดือนแล้ว)
ผื่นที่ข้อพับมันหนาใช้ 0.01% TA+10 % urea cream ทา ลำตัว 0.1% hydrocortisone (อันนี้เฉพาะเคสลูกผมเท่านั้น) เปลี่ยน โลชั่นจาก Eucerin เป็น Cetaphil restodermตัวนี้ (ตัวนี้ดันถูกกับลูกผมครับ ทาแล้วดี มือคนทาพลอยนุ่มไปด้วยเลย)

หลังจากทายา 1-2 วันผื่น หรือที่หนาๆตามข้อพับหายหมด ร่วมกับเปลี่ยนวิธีดูแลผิวลูกใหม่ ผ่านไป 3 สัปดาห์ ผื่นแบบเดิมไม่มีอีก จะมีผดแดงๆ บ้างตามหลัง กับผื่นที่หน้าเวลาลูกร้องไห้ เท่านั้นครับ ส่วนเรื่องอาหารอ. แนะนำให้กินเหมือน “ตอนก่อนท้อง” ส่วนตัวเด็กเองอาหารเสริมก็ให้ทีละอย่าง สังเกตผิวลูกเอา ภรรยาผมไปเอานมเก่าตอนที่ยังไม่งดมาให้กินเลยครับ ปรากฎว่าผ่านฉลุย

อาหารเสริมก็กินได้ทุกอย่างครับ 8 เดือนแล้ว (เคยให้ลองปลาแซลมอน แป๊บเดียวปากบวม นึกว่าแพ้ มาอีกวัน กลั้นใจให้กินอีกที ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เลยคิดว่าตอนนั้นสงสัยมดกัดหรือเปล่า) นมวัวกับแป้งสาลี ยังไม่ได้ให้ กะว่าจะเริ่ม 1 ขวบขึ้นไป

สุดท้ายผมขอเป็นกำลังใจให้กับ ทุกครอบครัวที่ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ครับ โดยเฉพาะคุณแม่ที่งดเข้ม เพราะลูกแพ้อาหารจริงๆคงลำบากไม่น้อย สู้ๆนะครับ ผ่านได้ทุกคนอยู่แล้ว แม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นๆหายๆ แต่อาการจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ และหายเองในอนาคตได้แน่นอนครับ <<<

คุณแม่ Nakrishya Gay Sirabhabhoj ช่วยเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ >>> คุณหมอจะเริ่มให้ใช้จากยี่ห้อที่เป็นที่รู้จัก หาซื้อง่ายและราคาสูงน้อยหน่อยก่อน ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยเปลี่ยนยี่ห้อ ซึ่งโชคดีที่ลูกสาวดีขึ้นที่ยี่ห้อแรกเลย อีก



> นอกจากต้องระวังเรื่องผิวแห้งและน้ำลายแล้ว หน้าร้อนแบบนี้ต้องระวังไม่ให้ #เหงื่อ ออก มากด้วยค่ะ ถ้าเหงื่อออกให้พาน้องไปล้างตัวแล้วเริ่มทาครีมใหม่ คุณหมอให้ใส่เสื้อน้อยชิ้นบางๆ ตอนนอนให้เปิดแอร์พอดีจะได้ไม่ต้องใส่ชุดนอนหนาไป ไม่งั้นเหงื่อซึมระบายไม่ออก ผื่นเห่อจะทำให้โรคกำเริบได้

> #สบู่ ที่เลือกใช้ตอนอาบน้ำ ควรเป็นสบู่แบบอ่อนโยน เวลาล้างสบู่ออกแล้ว ผิวจะรู้สึกลื่นๆ เหมือนล้างสบู่ไม่หมดและมีอะไรเคลือบผิวอยู่

> เด็กเล็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ แม้คุมอาการได้ดีแล้ว ก็ยังไม่ควรพาไปเข้าคอร์สเรียน #ว่ายน้ำ เพราะจะทำให้กลับมากำเริบอีกได้ แต่ถ้าจะพาลูกไปเที่ยวและจะลงว่ายน้ำ ก็ทำได้เป็นครั้งคราว ไม่เกินครั้งละ 15 นาที แล้วให้แยกพาลูกขึ้นจากน้ำไปอาบน้ำและโบ๊ะโลชั่นเลย (หมอใช้คำว่า 'โบ๊ะ' เลยค่ะ)


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้