Last updated: 19 ก.พ. 2567 | 3715 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
Update เทคนิครักษาฝ้า Melasma Treatment
———————————————————
เนื้อหาประกอบด้วย
1.ชนิดของฝ้า
2.การรักษาด้วยยาทา
3. สกินแคร์ผลิตภัณฑ์กลุ่มสารไวท์เทนนิ่ง (Whitening Agents)
4. การลอกผิวด้วยสารเคมี Chemical Peeling
5. ยา Tranexamic acid (Transamine)
6. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy)
7.เทคนิครักษาอื่นๆ
———————————————————
I. ฝ้ามีกี่ชนิด Melasma Type?
https://youtu.be/XsZ4jdpB8Lg
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ปัญหาเรื่อง “ฝ้า (Melasma หรือ Cholasma)” ฝ้ามีลักษณะ เป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม บางครั้งมีสีออกดำอมฟ้า หรือสีแดง
..
พบการขยายวงกว้างบริเวณโหนกแก้มได้มากกว่าที่อื่นบนใบหน้า ในบางครั้งเราอาจพบกระ ซึ่งเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลกระจายอยู่ร่วมกับฝ้าอีกด้วย ซึ่งฝ้าจะมีทั้งหมด 3 ชนิดหลักๆดังนี้
1.ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ ฝ้ายนิดนี้จะเห็นขอบเขตของการเกิดฝ้าได้ชัดเจน
2.ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน สังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
3.ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า
..
ฝ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษคือ
ฝ้าเลือด หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Vascular Melasma หรือ Telangiectetic Melasma https://youtu.be/47piPvirYp4
-ฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า ผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง หรือยา ที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก
-โดยฝ้าจะมีสีน้ำตาลแดง จัดเป็นฝ้าที่รักษายาก ฝ้าเลือดพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 80%
-ซึ่งชนิดของฝ้ามีส่วนช่วยในการวางแผนการดูแลรักษาต่อไปครับ
...
ตัวอย่าง งานวิจัยโดย ผศ. นพ. ศุภะรุจ (หมอรุจ) และ รศ. นพ. เทอดพงศ์ และทีมงาน เกี่ยวกับการดูแลรักษาฝ้าเลือด Melasma with telangiectasia ด้วยการใช้เลเซอร์
✅พบว่าได้ผลในระดับหนึ่ง โดยต้องดูแลรักษาร่วมกับการทายาและปกป้องแสงแดดด้วยครับ
***ที่สำคัญคือต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้ที่มีสีผิวเข้มครับ***
Lueangarun S, Namboonlue C, Tempark T. Postinflammatory and rebound hyperpigmentation as a complication after treatment efficacy of telangiectatic melasma with 585 nanometers Q-switched Nd: YAG laser and 4% hydroquinone cream in skin phototypes III-V. J Cosmet Dermatol. 2021 Jun;20(6):1700-1708.
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33002283/
—————————————————-
II. ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง Melasma Treatment
วิธีรักษาฝ้า
•ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้าให้หายขาดได้ และฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดและยาหรือฮอร์โมน
• ซึ่งวิธีการรักษาฝ้าที่แพทย์ผิวหนังใช้ก็คือการควบคุมให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานน้อยลงด้วยวิธีการต่าง ๆ และอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าด้วยว่าเป็นฝ้าตื้นหรือฝ้าลึก โดยวิธีลดเลือนและรักษาฝ้านั้นก็จะมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน แต่หลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็น
1.การรักษาฝ้าด้วยยาทา Topical Treatment
•เป็นวิธีการรักษามาตรฐานที่ได้ผลดีและปลอดภัย ใช้ได้ผลดีกับฝ้าตื้นมากกว่าฝ้าลึก แต่เห็นผลได้ช้ากว่าวิธีอื่น ๆ และยาบางตัวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ผลิตภัณฑ์รักษาฝ้าที่แอบใส่ยาอันตรายความเข้มข้นสูงเพื่อให้ได้ผลเร็ว
•โดยการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเห็นผลว่าฝ้าดูจางลงใน 1-2 เดือน ถ้าใช้ต่อเนื่องเกิน 6 เดือนก็จะเห็นผลอย่างชัดเจน แต่สำหรับฝ้าลึกนั้นจะค่อนข้างรักษาได้ยากหากต้องใช้ยาทาเพียงอย่างเดียว จึงต้องใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยยาทาที่นิยมใช้กันก็ได้แก่
1.1 ยาทากลุ่มไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นยาตัวหลักที่แพทย์นิยมใช้ในวิธีรักษาฝ้าเพราะสามารถช่วยลดการสร้างเม็ดสีและทำลายเม็ดสีบางส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้
•แต่ยานี้ก็มีผลข้างเคียงสูง เพราะมักทำให้เกิดการระคายเคือง แสบร้อน บวม แดง และลอกเป็นขุย ๆ ได้ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากใช้ยานี้ที่มีความเข้มข้นมากหรือใช้เป็นเวลานานก็อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง สีผิวบริเวณนั้นเข้มขึ้น หรือเกิดฝ้าถาวร Ochronosis ที่รักษาไม่หายได้
1.2 ยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ (Retinoic Acid) เป็นยาทาที่ช่วยเร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวชั้นบน จึงช่วยให้รอยฝ้าดูจางลงได้
•แต่ยารักษาฝ้านี้ต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผล และระหว่างใช้ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง และทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
•ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ ผิวหนังแดง คัน ผื่นผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แห้ง ลอก แสบร้อน ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง
1.3 ยาทาผสม Triple Combination ประกอบด้วยตัวยา
2. กรดวิตามินเอ
3. และสารสเตียรอยด์ (Kligman's Formula: hydroquinone + tretinoin + corticosteroids )
•เป็นตัวยาอีกตัวที่แพทย์นิยมใช้ เนื่องจากใช้ง่าย และมีสเตียรอยด์อ่อน ๆ เพื่อช่วยลดการระคายเคืองของไฮโดรควิโนนและกรดวิตามินเอ
•แต่หากใช้วิธีรักษาฝ้านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดฝ้าจากสเตียรอยด์หรือเกิดฝ้าถาวรจากไฮโดรควิโนนได้
•ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ เกิดอาการแดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอก ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง สิว ฯลฯ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเช่นกัน
1.4 ยาทากลุ่มอะเซเลอิก (Azelaic Acid) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในลดการสร้างเม็ดสีได้ดีเทียบเท่ากับยาทาไฮโดรควิโนน
•แต่การใช้ยานี้ช่วงแรกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรือแสบร้อนบริเวณผิวหนังได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังหรืออยู่ในการดูแลของแพทย์
...
2.รักษาฝ้าแดดด้วยสกินแคร์ผลิตภัณฑ์กลุ่มสารไวท์เทนนิ่ง (Whitening Agents)
•เช่น วิตามินซี, สารสกัดจากชะเอมเทศ, อาร์บูติน, กรดโคจิก, สารสกัดจากถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นการรักษาฝ้าอย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุด เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่ำ
•แม้จะได้ผลช้ากว่ายาทาแต่ก็ได้ผลค่อนข้างดีในระยะยาวที่ช่วยทำให้ฝ้ารวมถึงฝ้าแดดจางลงและผิวดูขาวขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดเลือนและรักษาฝ้าให้หายขาดที่ได้ผลค่อนข้างชัดเจน
https://youtu.be/yuvfdvkRfVQ
https://youtu.be/PW-98xBjV2w
https://youtu.be/41A8iP_FtJk
...
3.การลอกผิวด้วยสารเคมี Chemical Peeling หรือกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี Dermabrasion เพื่อกำจัดเม็ดสีที่มีอยู่ออกไป
• เป็นการรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจก่อให้เกิดแผลเป็นถาวรได้จากการลอกชั้นผิวที่ลึกเกินไป
• หลังทำต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดอย่างเคร่งครัดและทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำและเข้มขึ้นมากกว่าเดิมจากผิวที่บางลงจากการลอกหรือกรอผิว
• การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) เป็นการใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงกว่าครีมรักษาฝ้าที่ผสมกรดผลไม้หลายเท่า ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวไหม้หรือแผลเป็นถาวร
ที่มีการศึกษาเช่น 20-70% Glycolic Acid Peels, 20-30% Salicylic Acid Peels, 20-25% Trichloroacetic Acid (TCA) Peels,
• การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) เพื่อขัดและลอกผิวหนังชั้นหนังกำพร้าด้านบนออก ใช้ได้ผลกับฝ้าตื้น แต่เป็นวิธีรักษาฝ้าที่ก่อให้เกิดการระเคืองสูง และหลังทำต้องระมัดระวังการสัมผัสกับแสงแดดมากเป็นพิเศษ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการรักษา โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีอากาศร้อนและมีโอกาสสัมผัสแสงแดดได้สูง
4.ยา Tranexamic acid (Transamine)
เป็นชื่อการค้าของยา tranexamic acid ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลหยุดยาก หรือเลือดออกมากผิดปกติ •เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่า เซลล์ผิวหนังของคนมีการผลิต plasminogen activator ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยรังสี UV และนำไปสู่การสร้างสารสี ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ tranexamic acid จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดฝ้า
•มีการศึกษา การใช้ Tranexamic acid ชนิดรับประทานในขนาดต่างๆกัน เช่น 500-750 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือฉีดเข้าชั้นผิวหนังรวมถึง การทา (3% Tranexamic acid) ในการรักษาฝ้าโดยใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการรักษาฝ้าแบบปกติ *เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ
5. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy) เช่น IPL, Q‑Switched Neodynium‑Doped Yttrium Aluminum Garnet (QS‑Nd:YAG) Laser (QsNDYAG), Fractional Laser, Picosecond Laser, Pulsed‑Dye Laser, NAFL, non- ablative fractional laser,
•เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะมีความแม่นยำและรักษาได้ตรงจุด ***แต่การรักษาฝ้านี้ก็เป็นเพียงการรักษาเสริมเท่านั้น ไม่ใช่การรักษาหลัก (ใช้ทำลายเม็ดสีที่ปลายเหตุ ไม่ได้ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่เป็นต้นเหตุ
•พิโคเซคเคิน เลเซอร์ (Picosecond Laser) นวัตกรรม
รักษากระ จุดด่างดำ ลบรอยสัก ปรับสีผิวให้กระจ่างใสไร้ริ้วรอยและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเรียบเนียนด้วยเทคโนโลยีของ พิโคเซคเคิน เลเซอร์ (Picosecond Laser) ที่สามารถให้พลังงานสูงในช่วงระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้เม็ดสีแตกตัวได้อย่าง
ละเอียด จึงใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่าเครื่องเลเซอร์ในระบบเดิม
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
•เลเซอร์ดึงเม็ดสีแบบแบ่งส่วน Fractional Laser for Melasma Treatment เป็นเลเซอร์ที่ลงไปทำงานใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ Dermis สำหรับดึงเม็ดสีออกและฟื้นฟูสภาพผิวเพื่อให้ผิวเรียบเนียนและกระจ่างใส สร้างผิวใหม่และกระตุ้นผิวให้แข็งแรงขึ้น กระตุ้นคอลลาเจนให้เกิดขึ้นมาใหม่•นอกจากนี้การทำเลเซอร์จะช่วยเปิดช่องทางการนำยาและวิตามินเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้ Dermis หมอจะใช้เทคนิคการทาวิตามินและตัวยายับยั้งการสร้างเม็ดสี เช่น Vitamin C, Tranexamic acid หลังการทำเลเซอร์ทันที https://youtu.be/2W8TIO7OB8M
•การทำเลเซอร์จะอาศัยหลักการปล่อยพลังงานความร้อนไปยังฝ้าเพื่อทำลายเม็ดสีโดยตรง นั่นจึงเป็นผลทำให้ผิวบริเวณที่ทำเลเซอร์นั้นไวต่อแสง (หลังทำในช่วง 2-4 สัปดาห์ห้ามโดนแดดอย่างเด็ดขาด), ผิวแพ้ง่าย (ต้องงดใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของกรดหรือใช้สครับเพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่าย), ผิวแห้ง ตกสะเก็ด และเป็นขุย, เป็นสาเหตุการเกิดฝ้าใหม่และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่าเดิม (เพราะผิวมีสภาพอ่อนแอจากการทำเลเซอร์), ฝ้าอาจเข้มขึ้น หรือเกิดจุดด่างขาว (อาจเกิดจากเครื่องมือที่ไม่มีคุณภาพหรือความไม่ชำนาญของแพทย์), อาจเกิดแผลเป็นจากเลเซอร์ เป็นต้นนอกจากนี้ ต้องทำเป็นประจำ อาศัยเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัย และความชำนาญของแพทย์ เพราะต้องปรับพลังงานที่ใช้ให้พอดีกับลักษณะของฝ้าที่เป็นไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป
6. การรักษาอื่นๆ
• Oral Polypodium Leucotomos Extract
• Procyanidin, 6 mg of β-carotene (vitamin A), 60 mg ascorbic acid (vitamin C), and 15 IU of D-α-tocopherol acetate (vitamin E)
• Topical melatonin, oral melatonin
• Cysteamine
• Methimazole
• Niacinamide
• เกล็ดเลือดเข้มข้น PRP
..
References
• Artzi O, Horovitz T, et Al. The pathogenesis of melasma and implications for treatment. J Cosmet Dermatol. 2021 Nov;20(11):3432-3445.
• McKesey J, Tovar-Garza A, Pandya AG. Melasma Treatment: An Evidence-Based Review. Am J Clin Dermatol. 2020 Apr;21(2):173-225.
..
Cr:หมอรุจชวนคุย
..
ตัวอย่างแนวทางการดูแลรักษาฝ้า
https://bit.ly/3jbxYkp
https://bit.ly/3mVVUJO
https://bit.ly/3lPRVPv
https://youtu.be/XQuFvGtQ_ek
https://youtu.be/5oNaF_z8Adg
https://youtu.be/1ENnjw_eTaY
https://youtu.be/c1bz7dcz3AQ
https://youtu.be/yuvfdvkRfVQ
..
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com