Last updated: 15 มี.ค. 2566 | 1098 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
แนะนำเทคนิคดูแลริมฝีปากคล้ำ Lip Hyperpigmentation ริ้วรอย ริ้วรอยรอบริมฝีปาก: สาเหตุ การดูแล & เทคนิคเลเซอร์ MultiMode Discovery Picosecond Laser Lip Rejuvenation
https://youtu.be/SPMbHU5_GDk
Dr. Ruj’s comments:
• ริมฝีปากคล้ำอาจจะต้องหาสาเหตุเช่นโรคต่อมไร้ท่อยาบางชนิดและการสูบบุหรี่
• การดูแลเบื้องต้นคือการงดการสูบบุหรี่ การใช้ลิปสติกที่มีการป้องกันแสงแดดครับ
• มีการศึกษาการใช้เลเซอร์ในการดูแลภาวะริมฝีปากคล้ำ เช่น 532-nm, 1064-nm QsNdYAG Laser และ 755-nm picosecond laser
• หมอจะใช้ใช้หลายเทคนิคของ MultiMode Discovery Picosecond Laser เช่น
• Full Beam Discovery Pico Laser ช่วยลดเม็ดสี ด้วยการทำลายเม็ดสีช่วยให้รอยคล้ำที่ริมฝีปากจากลง
• Fractional Discovery Picosecond Laser with Micro Lens Array MLA ช่วยการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ริมฝีปากลดเลือนริ้วรอยดูอิ่มเต็มขึ้น และยังช่วยลดริ้วรอยบริเวณรอบปาก
• Fractional 532-nm Picosecond Laser ช่วยลดเม็ดสีในผิวชั้นบนของริมฝีปาก เป็นต้นครับ
ผู้ที่มีปากดำ คือ ผู้ที่มีริมฝีปากสีเข้มหรือคล้ำกว่าคนทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสแสงแดด หรือการใช้ลิปสติก อาการปากดำอาจมีวิธีดูแลให้รอยคล้ำจางลง และช่วยให้ริมฝีปากกลับมาเนียนนุ่มสวยเป็นปกติอีกครั้งได้ด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งการรักษาใด ๆ
* กรรมพันธุ์ หรือเชื้อชาติ เม็ดสีในร่างกายมีหน้าที่ทำให้ผิวหนังเป็นสีต่าง ๆ ซึ่งเม็ดสีผิวของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติหรือกรรมพันธุ์ เช่น หากพ่อแม่มีปากดำ บุตรหลานก็มีแนวโน้มปากดำเช่นกัน
* บุหรี่ สารประกอบหนึ่งในบุหรี่ คือ นิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เส้นเลือดฝอยหดตัว จนอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงริมฝีปากไม่เพียงพอและเกิดอาการปากดำ นอกจากนี้ นิโคตินยังอาจก่อตัวเป็นคราบอยู่บริเวณริมฝีปากและทำให้ปากดำได้เช่นกัน
* แสงแดด หากสัมผัสรังสี UV จากแสงแดดมากเกินไป ร่างกายจะป้องกันตนเองด้วยการผลิตเม็ดสีสีดำออกมา หรือที่เรียกว่าเม็ดสีเมลานิน (Melanin) หากผลิตออกมามากเกินไป เม็ดสีเมลานินจะมีสีเข้มขึ้นจนทำให้ปากเป็นสีดำ
*สารในลิปสติก ในลิปสติกมักประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไอโซปาล์มมิทิว ไดกลีเซอริล ซีเบเคต กรดริซิโนเลอิก กรดไขมันไดเพนตะอิรีไทรทอล สารเอสเทอร์ เอสเทอร์กัม และสารสีกลั่นจากปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้อาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ อักเสบ และระคายเคืองบริเวณริมฝีปาก จนทำให้ปากเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำได้
* โรคพิวทซเจคเกอร์ซินโดรม (Peutz-Jeghers Syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งส่งผลต่อเม็ดสีในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้เกิดจุดสีดำขึ้นในบริเวณต่าง ๆ เช่น นิ้ว ปาก หรือริมฝีปาก เป็นต้น
* ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือยาต้านมาลาเรีย อาจเพิ่มปริมาณเม็ดสีเมลานินในร่างกายให้สูงขึ้น จนทำให้ปากดำคล้ำได้
* ชาเขียว ในชาชนิดนี้มีสารนิกเกิลปริมาณมาก ดังนั้น การบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีชาเขียวเป็นส่วนผสม อาจทำให้เกิดอาการแพ้บริเวณริมฝีปากจนปากดำได้
ปากดำ ทำอย่างไรดี ?
เนื่องจากปากดำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงควรหาสาเหตุที่แท้จริงก่อน หากพบว่าเกิดจากอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
ส่วนการดูแลและป้องกันอาการปากดำ อาจปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
* เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่อาจเป็นสาเหตุทำให้ปากดำ ทำลายเซลล์สุขภาพดี ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย และเสี่ยงเกิดโรคร้ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากอาการปากดำตามมาได้
* หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เพราะผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือยาสีฟัน อาจมีส่วนประกอบของนิกเกิล ชาเขียว หรือสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อื่น ๆ ได้ ผู้ใช้จึงควรศึกษาส่วนประกอบและข้อมูลผลิตภัณฑ์บนฉลากอย่างละเอียดก่อนเสมอ
* หลีกเลี่ยงการใช้ลิปสติกที่ทำให้แพ้ เพราะสารต่าง ๆ ในลิปสติกอาจทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง และอาจต้องใช้เวลานานนับปีกว่าเม็ดสีที่ทำให้ปากดำจะจางลง หรือเม็ดสีนั้นอาจไม่จางลงจนกลับเป็นปกติได้อีก
* ใช้ลิปสติกที่ป้องกันรังสี UV ผิวหนังบริเวณริมฝีปากต้องการการปกป้องจากแสงแดดเช่นเดียวกันกับผิวหนังร่างกายส่วนอื่น ๆ ดังนั้น ควรเลือกใช้ลิปสติกที่มีค่า SPF 30 หรือสูงกว่านั้น
เลเซอร์ต่างจากการสักปากอย่างไร?
* การเลเซอร์เป็นการทำลายเม็ดสีผิวบางส่วนออกไป เพื่อให้ริมฝีปากหายคล้ำและดูอมชมพูด้วยวิธีที่ทำง่ายกว่าการสักจึงทำให้เจ็บน้อย ในขณะที่การสักปากคือการใช้เข็มหรืออุปกรณ์หัวขนาดเล็กที่บรรจุสีเข้าไปฝังไว้บริเวณริมฝีปาก
*
•การใช้เลเซอร์ช่วยลดเม็ดสีเมลานิน และกำจัดเม็ดสีหมองคล้ำบนริมฝีปากอย่างได้ผล รวมทั้งยังช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออกง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจน ที่ใช้บ่อยเช่นเลเซอร์ที่จับเม็ดสี เช่น QsNdYAG Laser$
•Picosecond Laser
การศึกษาด้วยการใช้ Picosecond Laser 755-nm สองสัปดาห์ครั้งจำนวนห้าครั้งช่วยให้ริมฝีปากคล้ำจางลงได้ (5 bi-weekly treatments with a 755-nm picosecond laser using a 6-mm spot size, fluence of 0.71 J/cm 2 at 5 Hz.)#
หรือเลเซอร์แบบแบ่งส่วนซึ่งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนเช่น Fractional CO2 Laser, Fractional Erbium Yag Laser ครับ
Er,Cr : YSGG laser with 2780 nm##
หมอจะใช้ใช้หลายเทคนิคของ MultiMode Picosecond Laser เช่น
•Full Beam ช่วยลดเม็ดสี ด้วยการทำลายเม็ดสีช่วยให้รอยคล้ำที่ริมฝีปากจากลง
•Fractional Picosecond Laser with Micro Lens Array MLA ช่วยการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ริมฝีปากลดเลือนริ้วรอยดูอิ่มเต็มขึ้น และยังช่วยลดริ้วรอยบริเวณรอบปาก
•Fractional 532-nm Picosecond Laser ช่วยลดเม็ดสีในผิวชั้นบนของริมฝีปาก เป็นต้นครับ
Physiologic lip hyperpigmentation is a common aesthetic concern, especially in Southeast Asia. There is limited data on the application of the picosecond laser for this condition.
Black lips
The following are possible causes of black lips, or hyperpigmentation of the lips:
* Smoking. Smoking can cause your lips and gums to darken. A 2013 studyTrusted Source of smokers found that all of the smokers in the study had lip and gingival pigmentation.
* Trauma or injury. A bruise can form on one or both lips following an injury. This can cause your lips to be partly or entirely purple or black. Dry, cracked, and severely damaged lips, including burns, can also turn lips dark.
* Addison’s disease. Addison’s disease occurs when your adrenal gland doesn’t produce enough cortisol and, sometimes, aldosterone. It can cause hyperpigmentation of the skin and lips, causing them to look dark or black on the inside and sometimes the outside.
Lip melanosis is a cosmetically disfiguring condition frequently encountered in the Dermatology outpatient department. Lip melanosis has multifactorial etiology. It may be congenital or acquired, physiological, or pathological.
Physiological pigmentation of the lips depends on ethnicity and is common in darker-skinned individuals. Causes of lip pigmentation include benign conditions (ephelides, lentigines, labial melanotic macule); malignant conditions (pigmented squamous cell carcinoma, malignant melanoma); drug-induced; post-inflammatory hyperpigmentation (PIH); endocrine disorders (Addison’s disease, hemochromatosis, Cushing’s disease); heavy metals; smoking; amalgam tattoo; Laugier–Hunziker syndrome and lentiginosis syndromes (Peutz–Jegher’s syndrome, LEOPARD syndrome, Carney complex).
Many patients seek treatment due to cosmetic reasons, but no effective treatment is available so far. Topical treatment gives variable therapeutic results.
อ้างอิง References:
#Ng JNC, Manuskiatti W, Apinuntham C, Yan C. The Efficacy and Safety of a 755-nm Picosecond Laser in the Treatment of Physiologic Lip Hyperpigmentation in Thai Patients. Dermatol Surg. 2022 Nov 1;48(11):1210-1214.
$Altalhab S et al, Q-switched 532 nm Nd:YAG laser therapy for physiological lip hyperpigmentation: novel classification, efficacy, and safety. J Dermatolog Treat. 2022 May;33(3):1324-1328.
##Agha MT, Polenik P, Hassan M. Er,Cr:YSGG 2780 nm Laser Treatment of Lip Melanin Hyperpigmentation. Int J Dent. 2021 Jul 15;2021:6621341.
Alharbi MA. Q-switched double-frequency Nd:YAG (532 nm) laser is an effective treatment for racial lip pigmentation. J Cosmet Dermatol. 2019 Dec;18(6):1672-1674.
....
https://s.lemon8-app.com/s/vbejTxMeYR
https://vt.tiktok.com/ZSRnwT9wh/
https://youtu.be/dVjAjxOAk7o
https://bit.ly/3NgKLQB
https://youtube.com/shorts/HZaUiwkS-Io?feature=share
https://youtu.be/SPMbHU5_GDk
...
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com